นิด้าโพล เผยการสำรวจโซเชียลมีเดียกับการเลือกตั้งปี 2562

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“โซเชียลมีเดีย (Social Media) กับการเลือกตั้งปี 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปกระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง
เกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียของประชาชนในการติดตามข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งปี 2562รวมถึงผลการใช้โซเชียลมีเดียกับการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพรรคการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น
จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)

โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองของการเลือกตั้งปี 2562 พบว่า


ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.92 ระบุว่า ไม่ได้ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย และร้อยละ 23.08 ระบุว่า ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย
เมื่อถามถึงช่องทางของผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองของการเลือกตั้งปี 2562 ผ่านโซเชียลมีเดียพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.24 ติดตามผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook), แฟนเพจ รองลงมา ร้อยละ 44.29 ติดตามผ่านไลน์ (Line) ร้อยละ 24.22ติดตามผ่านยูทูป (Youtube) ร้อยละ 5.88 ติดตามผ่านอินสตาแกรม (Instagram) และร้อยละ 5.54 ติดตามผ่านทวิตเตอร์ (Twitter)

ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อข้อมูลการเลือกตั้งปี 2562 จากโซเชียลมีเดียว่าเป็นจริงทุกข้อมูล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.18ระบุว่า เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างว่าเป็นจริงทุกข้อมูล รองลงมา ร้อยละ 33.15 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นว่าเป็นจริงทุกข้อมูล ร้อยละ 4.79 ระบุว่าเชื่อมั่นว่าเป็นจริงทุกข้อมูล และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลของโซเชียลมีเดียต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งปี 2562 พบว่า ประชาชน ร้อยละ 19.57 ระบุว่า มีผลมาก ร้อยละ 37.22 ระบุว่า มีผลค่อนข้างมาก ร้อยละ 25.32 ระบุว่ามีผลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 17.17 ระบุว่า ไม่มีผลเลย และร้อยละ 0.72 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้พรรคการเมืองสามารถหาเสียงเลือกตั้งผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media)ได้อย่างเสรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.62 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 36.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 2.80 ระบุว่า ไม่แน่ใจและร้อยละ 0.08 ไม่ระบุเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.47 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 35.78มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.13 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 23.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ14.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.84 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.16 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.71 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ16.21 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.52 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.39 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.77 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.40ไม่ระบุอายุตัวอย่างร้อยละ 94.25 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.35 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.80 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 21.25 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 73.80 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.35 หม้ายหย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 29.63 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.71จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.64 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 4.87 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุการศึกษาตัวอย่างร้อยละ 9.50 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.70 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ21.40 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.46 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.29 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.77 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุอาชีพตัวอย่างร้อยละ 16.29 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000บาท ร้อยละ 11.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.63มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.55 ไม่ระบุรายได้

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ