“การจับขั้วรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง”



ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน   เรื่อง “การจับขั้วรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 มีนาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจับขั้วรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (รวม 15 อันดับแรก)  อันดับ 1 ร้อยละ 25.78 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย & พรรคอนาคตใหม่ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 15.40 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ &  พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 7.26 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย & พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 5.11 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย  อันดับ 5 ร้อยละ 5.03 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย & พรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทย & พรรคอนาคตใหม่ & พรรคเสรีรวมไทย ในสัดส่วน  ที่เท่ากัน อันดับ 6 ร้อยละ 3.35 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 7 ร้อยละ 3.27 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย & พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8      ร้อยละ 2.87 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 9 ร้อยละ 2.63 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย & พรรคพลังประชารัฐ & พรรคประชาธิปัตย์    อันดับ 10 ร้อยละ 2.39 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย & พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 11 ร้อยละ 2.15 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ &  พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 12 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 13 ร้อยละ 1.84 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ &    พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 14 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ & พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 15 ร้อยละ 1.52 ระบุว่าเป็น        พรรคเพื่อไทย & พรรคอนาคตใหม่ & พรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 12.77 ระบุว่า อื่น ๆ

ส่วนกรณีที่ตอบว่าอยากให้พรรคการเมืองพรรคเดียวจัดตั้งรัฐบาล พบว่า ในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 3.11 ระบุว่า อยากให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่ ร้อยละ 2.00 ระบุว่า ไม่อยากให้จับขั้วกับใคร ในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าเป็น      พรรคพลังประชารัฐ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 1.75 ระบุว่า อยากให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่ ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่อยากให้จับขั้ว       กับใคร ส่วนในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 1.92 ระบุว่า อยากให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่  ร้อยละ 0.95 ระบุว่า ไม่อยากให้จับขั้วกับใคร และในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าเป็นพรรคอนาคตใหม่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 1.28 ระบุว่า ไม่อยากให้    จับขั้วกับใคร ขณะที่ ร้อยละ 0.72 ระบุว่า อยากให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล     

ด้านความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยหลังการเลือกตั้ง 2562 และได้รัฐบาลใหม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 74.30 ระบุว่า เศรษฐกิจไทย      จะดีขึ้น ร้อยละ 20.27 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะเหมือนเดิม ร้อยละ 4.63 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง และร้อยละ 0.80 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง 2562 และได้รัฐบาลใหม่ พบว่า ประชาชน      ร้อยละ 42.38 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะลดลง ร้อยละ 43.10 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะเท่าเดิม ร้อยละ 13.65 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 0.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจ   

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.38 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.18 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.19 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้  ตัวอย่างร้อยละ 54.27 เป็นเพศชาย และร้อยละ 45.73 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.31 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.20 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 25.22 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.92 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.03 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.32 ไม่ระบุอายุ

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ