“อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมกับนักร้องเรียน”

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมกับนักร้องเรียนทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมกับนักร้องเรียน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

              จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อปรากฏการณ์ข่าวผู้เดือดร้อนหรือผู้ที่เป็นเหยื่ออาชญากรรม เข้าขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 55.50 ระบุว่า ผู้เดือดร้อนต้องการได้รับความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 50.38 ระบุว่าผู้เดือดร้อนต้องการความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 39.69 ระบุว่า ต้องเป็นข่าวหน่วยงานราชการ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ถึงจะใส่ใจติดตามช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

ร้อยละ 35.04 ระบุว่า หน่วยงานราชการ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใส่ใจติดตามช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ร้อยละ 31.07 ระบุว่า ผู้เดือดร้อนที่หมดหวังกับหน่วยงานรัฐ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 16.49 ระบุว่า อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมน่าไว้ใจมากกว่าหน่วยงานรัฐ และ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 9.92 ระบุว่า อาจมีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า เป็นการเสริมสร้างชื่อเสียง อำนาจ บารมีของอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมบางคน ร้อยละ 7.33 ระบุว่า อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมบางคนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของบางคนหรือบางกลุ่ม ร้อยละ 6.64 ระบุว่า เป็นปรากฏการณ์หิวแสงของอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมบางคน และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   

              ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อปรากฏการณ์ข่าวนักร้องเรียนที่ตรวจสอบหรือกล่าวหาหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง พรรคการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.55 ระบุว่า อาจมีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่ รองลงมา ร้อยละ 28.85 ระบุว่าเป็นการเสนอความจริงต่อสังคม ร้อยละ 25.65 ระบุว่า เป็นปรากฏการณ์หิวแสงของนักร้องเรียนบางคน ร้อยละ 20.76 ระบุว่า เป็นการเสริมสร้างชื่อเสียง อำนาจ บารมีของนักร้องเรียนบางคน ร้อยละ 20.08 ระบุว่า เป็นการดำเนินการทางการเมืองอย่างหนึ่ง ร้อยละ 19.31 ระบุว่า

นักร้องเรียนเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ร้อยละ 17.33 ระบุว่า เป็นการตรวจสอบ/กล่าวหาจากภาคประชาชน ร้อยละ 15.50 ระบุว่า หน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง พรรคการเมือง ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ร้อยละ 15.19 ระบุว่า ต้องเป็นข่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงจะใส่ใจตรวจสอบ/กล่าวหา ร้อยละ 8.47 ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทำงานเชิงรุกในการตรวจสอบ/กล่าวหา และร้อยละ 7.10 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ       

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง  ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71    มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.26 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.13 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.41 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.00 สมรส และร้อยละ 3.59 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81                จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.85 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า         ร้อยละ 27.18 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.69 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.62 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.53 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.42 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 21.76 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.42 เป็นนักเรียน/นักศึกษา