คนนครสวรรค์ เลือกพรรคเพื่อไทยอันดับ 1

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนนครสวรรค์         เลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-19 เมษายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดนครสวรรค์ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 600 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนจังหวัดนครสวรรค์เลือกพรรคไหน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนนครสวรรค์จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.33 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.67 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)  อันดับ 3 ร้อยละ 16.67 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 8.83 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 7.67 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 6 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์   

 (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 8 ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น    นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 10 ร้อยละ 1.33 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) อันดับ 11 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช      (พรรคชาติพัฒนากล้า) และร้อยละ 1.67 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา)        นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) และไม่ตอบ/ไม่สนใจ   

สำหรับพรรคการเมืองที่คนนครสวรรค์จะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.17 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย   อันดับ 2 ร้อยละ 21.33 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 13.67 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 3.67 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 5 ร้อยละ 3.34 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย พรรคพลังประชารัฐ ยังไม่ตัดสินใจ และระบุอื่น ๆ ได้แก่  พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคชาติไทยพัฒนาพรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคสร้างอนาคตไทย และไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

ส่วนพรรคการเมืองที่คนนครสวรรค์จะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 49.17 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 22.00 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.33 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 2.83 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 5 ร้อยละ 2.17 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.00         ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 7 ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.17 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 1.67 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ และพรรคเศรษฐกิจใหม่

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดนครสวรรค์ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.17 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.83 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 10.00 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 16.84 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.33 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.50 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 28.33 อายุ 60 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 99.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.33 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.67 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.67 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.16 สมรส และร้อยละ 3.17 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.67 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.33 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.67 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 18.33 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.00 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
หรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.17 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.00 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.33 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.66 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 19.67 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/
ผู้ใช้แรงงาน และเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 3.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.50 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 30.67 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน


10,001-20,000 บาท ร้อยละ 7.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 2.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.34
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.33 ไม่ระบุรายได้

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ